กุมภเมลาเทศกาลแห่งการชำระบาป

ที่อินเดียเขามีเทศกาลหนึ่ง เรียกว่า กุมภเมลา กุมภ หมายถึง หม้อ เมลา แปลว่า การมาประชุมร่วมกัน ในพิธีกุมภเมลานี้ เดิมทีจัดกันเพียงที่เดียวคือที่สังคัง เอ้ย สังคัม แต่ต่อมาท่านศังกราจารย์ (พ.ศ.1331-1363) ได้ขยายพิธีกุมภเมลาออกไปอีก 3 ที่ รวมเป็น 4 ที่ด้วยกัน  เมืองแรกได้แก่สังคัม เมืองอัลลาหบาด ผมมักจะเรียกว่าเมืองอันละห้าบาท คำว่า อัลลาหบาด เป็นภาษาอูรดู แปลว่า เมืองแห่งพระอัลเลาะห์ บาดแปลว่า เมือง ส่วน อัลลาห แปลว่า พระอัลเลาะห์
                                                           
จริงๆ ผมมีเรื่องจะบอกอีกอย่างหนึ่ง ผมก็แปลมั่่วๆ เอานะครับ ไม่รู้ว่า ใช่หรือเปลา เดี๋ยวจะรอคำตอบจากหมอกฤษ์ คอนเฟริ์มว่า ถูกต้องหรือเปล่า เคราะห์กรรมของอินเดียอย่างหนึ่ง ตกเป็นเมืองขึ้นของหลายๆ ชาติ เช่นมุสลิมเติร์ก อังกฤษ ชาติไหนมาปกครอง ก็มักจะตั้งชื่อให้ อย่างอังกฤษปกครองก็มาเปลี่ยนเมืองพาราณสีเป็น Banaras ดังนั้นภาษาอูรดู ในอินเดียจึงมีมาก ส่วนเมืองที่สองเมือง นาสิก ทำกันที่ แม่น้ำโคธาวรี โคธาภาษาบาลี แปลว่า เหี้ย หรือตัวเงินตัวทองนะครับ (จริงๆ) เมืองอุชเชน ที่แม่น้ำศิประ และที่สุดท้ายเมืองหริทวาร์ด ซึ่งแต่ละที่นั้น 3 ปีถึงจะจัดครั้งหนึ่ง รวมกันเป็น 12 ปี ที่จะเวียนมาเมืองอัลลาหบาด อีกรอบหนึ่งจะเรียกว่า "มหากุมภเมลา" ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว มหา แปลว่า ใหญ่ คับ จะใหญ่ขนาดไหนนั้น ก็ประมาณว่า คนมาร่วมงานหลายแสน ฝั่งแม่น้ำคับคั่งไปด้วยมวลหมู่มหาประชาชนแขก ไม่รู้ลูกเต้าเหล่าใครเต็มไปหมด รถต้องจอดด้านนอก ต้องเดินเข้าไปร่วมงานประมาณ 5-7 กิโล ผมเคยไปร่วมงานกับเขาครั้งหนึ่ง เหมารถกันไป เพราะเมืองนี้อยู่ห่างจากเมืองที่ผมอยู่ไม่ถึง 150 กิโล  ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง พวกเราก็เลยออกเงินกันเหมารถ ไปดูคนอาบน้ำ อยู่ที่เมืองไทยไม่เคยเห็นคนอาบน้ำและคนเยอะ ก็เลยต้องเสียเงินเพื่อไปดูคนอาบน้ำโดยเฉพาะ
                            ภาพจากมุมกว้าง ดูผู้คนในงานเสียก่อน
คนจะเยอะขนาดไหน งานกาชาดที่ส่วนอัมพร ต้องเรียกว่าหลานๆ เลยหล่ะครับ หากใครคิดจะพาลูกหลานเหลนปู่ย่าตายายไป เขียนชื่อเบอร์โทร มือถือเอาห้อยคอไว้เลย เผื่อหลงพรากจากกัน งานนี้ไม่มีพ่อค้าแม่ค้ามาขายส้มตำไก่ย่าง น้ำหวานอะไรทำนองนี้ข้างทางนะครับ คนล้วนๆ ท่ามกลางดงฝุ่น

ที่สังคม เมืองอัลลาหบาดนั้น ชาวฮินดูมีความเชื่อว่า  เป็นที่บรรจบของแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ คงคา ยมุนา และสรัสวดี แต่โดยสายตานั้นเราสามารถมองเห็นแม่น้ำแค่ 2 สายแรกเท่านั้น  แต่แม่น้ำสรัสวดีไหลมาจากใต้ดิน และมาบรรจบกัน ณ ที่ตรงนั้น ส่วนทางคติของไทย สถานที่แห่งนี้เราเรียกว่า จุฬาตรีคูณ (ไปหาโหลดฟังเพลงนี้ได้ตามอินเตอร์เน็ท)

                                 บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ คนจะเยอะมาก
เหตุใดสถานที่สี่แห่งที่ได้กล่าวมาจึงมีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ในตำนานฮินดูตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อคราวที่เหล่าเทวดาและอสูร ได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรนั้นได้มีของวิเศษ 8 สิ่งเกิดขึ้นบนโลก และสิ่งสุดท้ายที่เกิดคือ หมอวิเศษชื่อธันวันรี ได้ทูนหม้อน้ำอมตะ (จริงเขาเรียกว่า อมฤต)ขึ้นมา และเกิดการแย่งชิงความเป็นเจ้ายุทธภพกัน ระหว่างเทวดาและพรรคมาร จนทำให้น้ำอมฤตนั้นหกลงมาบนโลกมนุษย์ ถึง 4 ที่ด้วยกัน แต่ภายหลังมาพระสังกราจารย์ได้ไปสืบเสะหาตามคัมภีร์ต่างๆ จนพบที่เหล่านั้น อันได้แก่ 4 แห่ง สี่เมือง ที่ได้กล่าวไปแล้ว ข้างต้น

ในพิธีกุมภเมลานี้ จะมีนักบวชของฮินดูนิกายต่างๆ จากทุกสารทิศ และผู้แสวงบุญมารวมกันเป็นจำนวนมาก หลักใหญ่ใจความของงานนี้ คือการมาอาบน้ำของนักบวชต่างๆ ซึ่งการมาอาบน้ำจะเป็นไปตามลำดับของนักบวชนิกายต่างๆ เริ่มจากนักบวชเปลือย นักบวชนุ่งผ้าและรวมไปถึงผู้ที่มีจิตศรัทธา ที่เสียเงินเสียทองจากรัฐอื่น เดินทางมาเพื่ออาบน้ำ

                                                          
เพราะแต่ละคนมีความเชื่อว่า การได้มาชำระอาบน้ำที่นี้ เขาได้ลอยบาปที่ได้กระทำมา อันตรธาน หายไปกับแม่น้ำแล้ว งานจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราและต้นเดือนกุมภา ใครสนใจอยากจะมาลอยบาปหรือล้างบาป แนะนำให้เอาผงซักฟอก สบู่มาด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น