นานมาแล้ว ผมเคยได้ยินคนเขาพูดกันว่า เห็นงูกับแขกให้ตีแขกก่อน ผมไม่รู้ว่าต้นตอของคำนี้มาจากไหน ใครเป็นคนกล่าว แต่เท่าที่อยู่อินเดียมานานพอควร ผมวิเคราะห์คำพูดนี้ออกเป็นสองประเด็น เพื่อให้ความเป็นธรรมกับจำเลยนั่นก็คือแขก
คนพูดมีจุดประสงค์จะบอกว่า งูที่บอกว่าเป็นอสรพิษ ก็ยังต้องซูฮกให้กับแขก เพราะว่าแขกขี้ขอ ขี้โกง ขี้คุย ขี้อวด อะไรที่เป็นขี้ แขกขอใช้เอาไว้ก่อนว่างั้นเถอะ
แขกขี้ขอ อันนี้ยอมรับตรงๆว่าก็มีบ้างนะครับ เหตุที่เขาขี้ขอ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศใหญ่และมีประชากรเยอะมากๆ คนจนก็มีเยอะ คนรวยก็มีแยะ แต่อัตราส่วนไม่เท่ากันหรอก คนจนเยอะกว่า เมื่ออะไรที่เป็นผลประโยชน์ของเขา เขาจะรีบเอาไว้ก่อน ดังนั้น คำว่า เห็นแก่ตัว แขกออกนอกบ้าน เขาก็เริ่มใช้คำนี้กันแล้ว ตั้งแต่บนท้องถนน ดังนั้นการจราจร กรุงเทพที่ว่าแย่ๆ มาเจอที่อินเดีย โดยเฉพาะที่พาราณสีแล้ว คุณจะทึ่งและตะลึง ในความมั่วและวุ่นวาย คำว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ ก็บังเกิดขึ้นที่เมืองพาราณสีแห่งนี้หล่ะครับ เสียงกดแตร ขี้วัวขี้ควาย น้ำมงน้ำหมาก เต็มท้องถนนไปหมด จนบางครั้งแทบแยกแยะไม่ออกว่าอันไหนขี้คนอันไหนขี้หมา จริงๆนะ แล้วคุณลองหลับตานึกดูนะครับว่า บนท้องถนนมิตรภาพ ที่มีแพะ วัว ควาย คน หมู หมา สามล้อ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ จักรยาน คนเดิน คนขายของ จะวุ่นวายขนาดไหน บางครั้งมันมากดแตรใกล้ๆหูเลยนะ หากอยู่เมืองไทย ไอ้คนขับรถคันนั้น ศพคงดูไม่จืด คนเดินบนท้องถนน เดินเรียงหน้ากระดาน แค่นั่งอ่านคุณก็ยังคิดเหนื่อยใจแล้วว่าจะวุ่นวายขนาดไหน ถ้าได้มาขับรถเอง สงสัยคงจะขับไปด้วยด่าไปด้วย สองข้างทางมีแต่ขยะ ใครกินอะไรอยากทิ้งตรงไหนก็ทิ้ง นี่คือผลของการมีคนเยอะ และชอบเห็นแก่ตัวกัน คุณทำของหล่นแล้วมีเด็กวิ่งตาม เอามาให้ อาจจะมีนะครับ คงเป็นไปไม่ได้ทั้งประเทศที่จะไม่มีคนดีเลย แต่ผมไม่เคยเห็นและไม่เคยประสบพบเจอด้วยตนเองและคนรอบข้าง อย่าว่าแต่จะทำหล่นเลยครับ บางครั้งจ้องจะลักเอาเลย บนรถไฟตัวดีเลย คนไทยหรือชาวต่างชาติของหายบ่อยมาก เนื่องจากสถานีรถไฟคนมันเยอะมากๆจริงๆ บวกกับการมองโลกในแง่ดีของชาวต่างชาติหรือเป็นเพราะความเผลอเลอ หารู้ไม่ว่าโดนวางยาบนรถไฟมาก็เยอะ ของหายขณะเผลอก็ไม่รู้กี่คดีกันแล้ว ครับโลกใบนี้ไม่ได้โรยด้วยดอกดาวเรืองเสมอไป คนที่รักเราสอนเราให้รู้ว่าโลกนี้มันน่าอยู่แค่ไหน คนที่เฉยๆกับเราสอนเราให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองให้มากๆ คนที่จ้องจะทำลายเรา สอนเราให้รู้จักระมัดระวังตัวเอง อินเดียจึงเป็นครูอย่างดีสำหรับเรื่องนี้
สภาพบนท้องถนนในตัวเมืองพาราณสี
บนถนนมิตรภาพ ให้รุ้ซะบ้างใครใหญ่
ส่วนขอทาน พวกนี้ก็ตัวดีเลย มันขอจริงๆ คือเกิดมาเพื่อสิ่งนี้จริงๆคือขอแมร่งทุกอย่าง ขอทานบ้านเรานิสัยดีกว่าเยอะ แค่นั่งบีบน้ำตา หากถามอะไรก็ตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จเท่านั้นเองอยู่ใต้ทางด่วนหรือบนสะพานลอย ส่วนพวกนี้ บางทีเป็นแก๊งเลย เดินตามตื้อ “ตื้อเท่านั้นที่ครอง 3 ภพ” สโลแกนของพรรคยาจกที่นี้ ให้สองสามรูปี มันไม่อยากจะได้เสียด้วยสิ อย่างน้อยก็ต้อง 10 รูปี คนไทยส่วนมากนะครับเป็นคนขี้สงสารคน ใจอ่อน ใจบุญ ไม่ต้องแปลกใจหากคนไทย จะเป็นเหยื่อของคนพวกนี้ ผมไม่ได้เหมารวมขอทานทั้งหมดนะครับ เพราะขอทานบางคน เป็นขอทานมืออาชีพ บางคนเป็นขอทานโดยมีใบประกอบวิชาชีพมาตั้งแต่กำเนิด ขอทานมืออาชีพก็คือไม่ได้ยากจนอะไร แต่เห็นคนอื่นขอได้และได้เงินดีก็เลยขอด้วย เนื้อตัวดำเหมือนกัน ใส่เสื้อผ้าคล้ายๆกัน คนไทยก็นึกว่าขอทานหมด และที่สำคัญ เราไปคิดแทนเขาว่าเขาจนนี่สิครับ สำคัญกว่า บางคนไม่ได้จนนะ มีบ้านให้คนอื่นเช่า ดังนั้นอินเดียบางส่วนบางรัฐจึงเต็มไปด้วยคนพวกนี้เหมือนกาฝากของอินเดีย หรือปลิงที่ดูดเอาชื่อเสียงอินเดียให้ตกต่ำ ถูกตราหน้าจากคนไทยไงครับ ว่าแขกจะดอย คอยจะแดก แขกขี้ขอ เนื่องจากอินเดียมีหลากหลายสังคมชั้น เหมือนสังคมบ้านเรานั่นแหละครับ คนไทยหลายๆคนมักจะบอกว่าก็เพราะอินเดียมีวรรณะจึงทำให้บ้านเมืองเขาเป็นแบบนี้ จริงๆพี่ไทยก็มีวรรณะเหมือนกัน แต่ระบบการจัดการบ้านเราดีกว่า สังคมทุกชนชั้นมีวรรณะในตัวของมันเอง ฝรั่งเขาก็มี ไม่รู้สินะอาจจะเป็นเพราะเราโชคดีที่ได้เกิดเป็นคนไทย เราจึงไม่รู้สึกว่าเราปกครองกันด้วยวรรณะ หากคำว่าวรรณะคือชนชั้น สังคมไทยเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยเรามีชนชั้นภายในสังคม หากไม่อย่างนั้นเราคงไม่มีว่าคำว่า สังคมไฮโซหรือสังคมชั้นสูง ใช้กันหรอก แต่ที่บ้านเรามันเบาบางมาก จนทำให้เราคิดว่ามันไม่มี แต่จริงๆมันมี
ขอทานแบบเมืองไทย
ขอทานแบบอินเดีย เคาะประตูรถกันเลย
ความมักง่ายหรือความเห็นแก่ตัวของแขกบางส่วนจะพบได้ในที่สาธารณะ ของอะไรที่เป็นของสาธารณะ เขามักจะขโมยเอามาใช้ อะไรเป็นของราชการก็ขโมย ไม่ค่อยดูแลรักษา บางบ้านทำความสะอาดเฉพาะหน้าบ้านของตัวเอง แต่ขยะเอาไปกองไว้ที่ถนน ดูมันทำ! เพราะว่าอะไรๆที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ของฉัน ฉันไม่ทำ จะสังเกตเห็นได้จาก บ้านเมืองสกปรก ใครกินอะไรก็ทิ้งเอาไว้ตรงนั้น ไม่มีความรับผิดชอบจากข้างใน ผมไม่อยากใช้คำว่าจิตสำนึกหน่ะครับ มันดูรุนแรงเกินไป ผมรับไม่ได้ จิตใจผมอ่อนไหวเกินไป
ส่วนเรื่อง ขี้ อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่อง Talk of the town คือเรื่องขี้โกง ผมไม่รู้ว่าคนไทยแถวๆภาคใต้ เช่นบังกาลอร์ เชนไน มุมไบ เจอบ้างหรือเปล่า เช่นไปจ่ายตลาดป้ายราคาไม่ได้บอกเอาไว้ ยกตัวอย่างนะครับ เวลาเราไปจ่ายตลาด อยากซื้อส้มสักกิโลหนึ่ง ถามพ่อค้าว่ากิโลเท่าไหร่ แขกมักจะบอกเอาไว้ประมาณ 60 รูปี พอเราไม่เอาจะเดินหนี มันกวักมือเรียก แล้วจะถามเราว่า คุณจะให้ราคาฉันเท่าไหร่ มันจะเป็นเสียแบบนี้ จะไม่ให้เสียอารมณ์ได้อย่างไร ส่วนตาชั่ง เหมือนเครื่องหมายตุลาการหน่ะครับ กิโลก็เป็นแท่งเหล็ก บางร้านก็จะเป็นก้อนหินแทน คืออย่างไรคุณก็มีแต่เสียเปรียบ หายากครับ เวลาไปซื้อของในตลาดแขก แล้วจะมีป้ายบอกราคา ส่วนมากขึ้นอยู่กับความเก๋า ในการใช้ชีวิตอยู่ในอินเดีย หากใช้ความเมตตากับเขามาก คนที่จะเป็นคนที่ถูกโกงมากที่สุดนั่นก็คือเรา พวกนี้มันคือปลิงดูดเลือด ควายตายไปสักตัว พวกปลิงพวกนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่และก็ไปดูดเลือดควายตัวต่อไป มันน่าแปลกนะครับ พรหมวิหาร 4 คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกิดที่อินเดีย แต่เรามักไม่ค่อยได้ใช้อุเบกขาคือวางเฉย แต่ก่อนผมเคยซื้อของเพราะสงสารคนขายนะ แต่เขาไม่ได้คิดเหมือนอย่างเรา โก่งราคาฉิบ..ผมถามกล้วยหวีเท่าไหร่ ปกติเขาจะขายหวีละ 12 ลูก 25 รูปี มันบอกผมว่า หวีละ 40 บังเอิญแขกอีกคนหนึ่งเขาก็เดินมาถามราคาเหมือนกัน คนขายบอกราคาหวีละ 25 รูปี แต่มันบอกราคากับเรา นี่มันราคาโคตรกล้วยแล้ว ดีนะที่ตูฟังฮินดีรู้เรื่อง พอเราจะเดินหนี มันบอกว่าแล้วจะให้ราคามันเท่าไหร่ แล้วอย่างนี้สมควรจะตีงูหรือแขกก่อนดีหล่ะครับ ท่านผู้ชมทางบ้าน ส่วนสามล้อปั่นหรือตุ๊กๆพวกนี้ก็ตัวดีเลย บางครั้งก่อนไปตกลงกันอีกราคา พอไปถึงจุดหมายปลายทาง มันบอกอีกราคาหนึ่ง ผมกระโดดถีบไปหลายครั้ง หากไม่สะดุ้งตื่นก่อน พวกนี้คงโดนผมถีบและเตะเยอะกว่านี้ และอีกเรื่องหนึ่งร้านขายของบางร้านหากเราไปซื้อของร้านเขาบ่อยๆ บ้านเรามีแต่จะลดราคาให้นะครับ เพราะเป็นลูกค้าประจำ แต่แขกบางเจ้า มันขึ้นราคาเอา ขึ้นราคาเอาจริงๆนะ ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มันจบการตลาดมาจากไหน แต่ผมขอรับรองด้วยเกียรติลูกเสือ ว่ามีจริงๆครับ
ตราชั่งเราจะพบโดยส่วนมากตามท้องตลาด (ด้านขวามือในรูป)
พงษ์ประภากรณ์ (ก็ผมนี่แหละ) เคยพูดเอาไว้ว่า “คนเยอะมักจะมากความ” ผมว่ามันน่าจะจริง นอกจากปัญหาจะเยอะแล้ว ความต้องการของผู้บริโภคมีมาก สังเกตได้จากตามท้องตลาดของทุกอย่างขายได้หมด บางอย่างยังไม่ทันสุกก็สามารถนำมาขายได้แล้ว เช่นกล้วย มะม่วง บางครั้งยังไม่ถึงฤดูเก็บเกี่ยว เขาก็จะรีบเก็บเกี่ยวและนำไปบ่มแก๊ส หากไม่อย่างนั้น ไม่ทันต่อตลาดของผู้บริโภค อาหารการกินของแขกบางพื้นที่กินไม่เหมือนกันนะครับ จริงๆก็ไม่ต้องดูอะไรไกลเกินตัว แค่เมืองไทยเรา เราก็มีอาหารแต่ละภาคอยู่แล้ว ใช่ไหมครับ เมืองที่ผมอยู่ ผมไม่ค่อยเห็นแขกกินหน่อไม้กันนะ อาหารการกินบางอย่างสมบูรณ์มากๆ เช่นแมงดา หน่อไม้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมเดินทางไปที่เมืองโครักขปูร์ บังเอิญเมืองนี้มันติดกับทุ่งนา แมงดาเยอะมาก ผมก็เลยให้เพื่อนอีกคนเก็บ ตอนแรกแขกก็มาช่วยมุงดูก่อน (นี่ก็เป็นที่มาของคำว่าแขกมุงไงครับ) สักพักเขาก็มาช่วยเก็บ เขาก็ถามว่าเอาไปทำอะไร เราก็บอกว่าเอาไปบูชาพระเจ้า แขกก็ถามว่าพระเจ้าคุณชื่ออะไร ผมก็บอกว่าชื่อพระอุทร เขาก็มาช่วยเก็บ ก็ได้เกือบกระสอบหนึ่งหน่ะครับ ประมาณ 20 กิโล เหมือนหน่อไม้ มีเยอะนะครับ เวลาพวกผมไปซื้อ แขกก็สงสัยว่าพวกเราเอาไปทำอะไร ส่วนมากแขกเขาจะเอาต้นไผ่ ไปทำแคร่หามศพเท่านั้นเอง
ตอนที่ผมมาอยู่อินเดียครั้งแรก ผมเห็นอะไรตื่นเต้นไปหมด เห็นแขกเขาแห่ศพลิงเอาไปทิ้งที่แม่น้ำคงคา ผมก็เป็นหนึ่งในสมาชิกแขกมุงกับเขาด้วย เห็นอะไรนิดหน่อย ตื่นเต้น เพราะไม่เคยเห็น ก็ไป แต่ไปมุงดู แต่ทุกวันนี้ ทุกอย่างผมเฉยๆไปหมด เพราะมันคือส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว
สภาพความเป็นอยู่และบนท้องถนน
เหมือนคำว่า ขี้คุย ผมว่าต้นตอมันก็น่าจะมาจากที่อินเดียนี้แหละ ที่อินเดียตามบ้านนอก เขายังไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องห้องน้ำกันนะครับ ส่วนมากตอนเช้าๆแขกเขาจะหิ้วหม้อน้ำเดินไปในป่าหรือพงหญ้าเพื่อไปทำธุระส่วนตัว แต่ตอนกลางคืนแถวบ้านนอก พระพุทธเจ้าช่วย! แขกขี้กันตามข้างถนนเลยนะครับ ถนนยางมะตอยหน่ะ รถก็วิ่งไปมา ส่วนพวกที่นั่งอยู่ข้างๆทางประมาณ 30-40 คน เขาก็ไม่ได้อายนะ ส่งสายตาบอกเป็นนัยๆว่า มรึงจะมายุ่งอะไรกับปลาดุกตู เพราะเขาไม่กล้าเข้าไปในพงหญ้าหรือในป่าเพราะกลัวงู ก็เลยประมาณว่าหน้าบ้านบ้างข้างบ้านบ้าง หากไม่เชื่อลองไปถามคนที่เคยไปไหว้สังเวชนียสถานเอาเองเถอะ ตอนเช้าๆ โอ๊วแม่เจ้า กองระเบิดเป็นหย่อมๆ พูดแล้วก็เปรี้ยวปาก เอาไว้แค่นี้นะครับ เรื่องขี้คุย พูดมากเดี๋ยวมันจะเลย ขี้
ห้องน้ำสาธารณะ
เป็นภาพปกติสำหรับผู้คนที่นี้ ไม่ต้องตกใจ
ประการสุดท้าย เห็นงูกับแขกให้ตีแขกก่อน เพราะสังคมคนอินเดียเขาค่อนข้างจะเมตตาต่อสัตว์เล็กสัตว์น้อยนะครับ จะสังเกตได้จาก นกยูง นิลกาย งูบางชนิด นกที่หาดูได้ยากๆ หรือสัตว์บางชนิด ไม่จำเป็นต้องไปดูที่สวนสัตว์หรอก มีให้เห็นตามท้องไร่ท้องนา กบ เขียด นก หนู กระรอกกระแต อีเห็น ตัวเงินตัวทองสัตว์จำพวกนี้แขกเขาไม่กินกัน และสัตว์บางชนิดแขกนับถือว่าเป็นพาหนะของพระเจ้า นี้เป็นเหตุผลหนึ่งครับ ที่คนและสัตว์อยู่กลมกลืนกันแบบธรรมชาติ เหมือนปรัชญาจีนของเหลาจื้อ จงใช้ชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
งูเขาก็ถือว่าเป็นพาหนะของพระเจ้าเขาเหมือนกัน ดังนั้นมีศพประเภทหนึ่งที่เขาไม่เผานั่นก็คือ หากใครถูกงูกัดตาย เขาจะนิยมเอาถ่วงลงที่แม่น้ำคงคาเลย ไม่นิยมเผา นอกจากนี้ก็ยังมีคนตายท้องกลม เด็กชายเด็กหญิง นักบวช คนถูกฟ้าผ่าและล่าสุดเพิ่งได้รับรายงานอย่างเป็นทางการเพิ่มเข้ามาอีกประเภทหนึ่งนั่นก็คือ ศพคนที่ยากจนจริงๆ เงินซื้อฟืนไม่มี ก็ต้องโยนลงแม่น้ำเลย หากมองอีกแง่หนึ่งนั่นก็คือ หากจะตีงูให้ตีแขกก่อนจะดีกว่าเพราะงูคือสัตว์ของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนวัวก็เป็นพาหนะของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของวัวในอินเดีย จึงสามารถใช้ถนนได้อย่างมีสิทธิเสรีภาพ โดยที่ไม่มีใครจะทำร้ายมัน เพียงไล่ให้การจราจรสะดวกเท่านั้นเอง บางครั้งคำว่า ศรัทธา มันเขียนง่ายนะครับ แต่จะให้อธิบายเป็นตัวหนังสือ เป็นเรื่องยาก อินเดียเป็นดินแดนเกิดกาลามสูตร แต่อินเดียคือประเภทเดียวในโลกที่มีลัทธิความเชื่อและศาสนาเยอะมากที่สุดในโลก ศาสนาพุทธ ฮินดู ซิกส์ เชนและลัทธิบูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่ ต่างๆมากมายเกิดขึ้นที่อินเดีย อินเดียจึงน่าทึ่งจริงๆประเทศเดียวมีทั้งทะเลสาบ ทะเล และหิมะ นมัสเตอินเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น